การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2562)26 ลูก16 ลูก9 ลูก294 หน่วย[1]
21 พฤษภาคม 256326 ลูก15 ลูก8 ลูก258 หน่วย[1]
9 กรกฎาคม 256326 ลูก14 ลูก7 ลูก216 หน่วย[2]
วันที่พยากรณ์ศูนย์พยากรณ์ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
22 มกราคม 2563PAGASAมกราคม–มีนาคม0–4 ลูก[3]
22 มกราคม 2563PAGASAเมษายน—มิถุนายน2–5 ลูก[3]
24 มิถุนายน 2563PAGASAกรกฎาคม–กันยายน6–10 ลูก[4]
24 มิถุนายน 2563PAGASAตุลาคม–ธันวาคม4–7 ลูก[4]
ฤดูกาล 2563ศูนย์พยากรณ์พายุหมุน
เขตร้อน
พายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA6 ลูก3 ลูก1 ลูก
เกิดขึ้นจริง:JTWC4 ลูก3 ลูก1 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกถูกเผยแพร่โดย PAGASA ในวันที่ 22 มกราคม ซึ่งเป็นการพยากรณ์ครึ่งแรกของปี[3] โดยหน่วยงานพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน ที่จะเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเพียง 0 ถึง 4 ลูกเท่านั้น ขณะที่เดือนเมษายนถึงมิถุนายนคาดว่าจะมี 2 ถึง 5 ลูก ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาพเป็นกลางของความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้–เอลนีโญทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอาจสามารถปรากฏเช่นนี้ไปได้ถึงช่วงกลางปี[3] วันที่ 21 พฤษภาคม TSR ออกการคาดการณ์สำหรับปี 2563 โดยพยากรณ์ว่ากิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนจะต่ำกว่าค่าปกติ โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก พายุไต้ฝุ่น 15 ลูก และพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 8 ลูก[1] ตัวเลขเหล่านี้สนับสนุนค่าปัจจุบันของปรากฏการณ์ขั้วคู่มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Dipole) โดยค่าพลังงานพายุหมุนสะสมและอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเขต 3.7 นีโญ (Niño 3.75 region) นำไปสู่การแรงขึ้นกว่าปกติของลมค้าทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[1]

วันที่ 24 มิถุนายน PAGASA ได้ออกการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ โดยพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อนในครึ่งปีหลังไว้ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้น 6–10 ลูกก่อตัวขึ้นในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ขณะที่ในเดือนตุลาคมถึงธันวาคมคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้น 4–7 ลูก[4] วันที่ 9 กรกฎาคม TSR ออกการพยากรณ์ฤดูกาลอีกครั้ง โดยพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยฤดูกาล โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก พายุไต้ฝุ่น 14 ลูก และพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง 7 ลูก[2]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

วันที่ 27 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1 ถึง 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[5]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.prh.noaa.gov/guam/cyclone.php http://www.hko.gov.hk/informtc/tcMain.htm http://meteo.bmkg.go.id/siklon http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/